วิตามินเอ (Vitamin A)

วิตามินเอ (Vitamin A) คืออะไร, ประโยชน์, โทษ และอาการเมื่อขาดวิตามินเอ


วิตามินเอ (Vitamin A) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ค้นพบโดย ดร. อี.วี. แมคคอลลัม (E.V. McCollum) นักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกา  ร่างกายของเราสามารถสะสมวิตามินเอได้นานมาก อาจนานได้ถึง 1 หรือ 2 ปี โดยเก็บไว้ในชั้นเซลล์ไขมัน
วิตามินเอมีหน้าที่ช่วยในการมองเห็น การเจริญเติบโตของกระดูก การแบ่งตัวของเซลล์ การกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค ซ่อมแซมผิวของตาและหลอดลมทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายยากขึ้น และยังกระตุ้นให้เซลล์เม็ดเลือดขาวโดยเฉพาะ lymphocyte ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และระบบสืบพันธุ์ นอกจากนี้ ยังป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ และระบบขับปัสสาวะ ทำให้ผิวและผมแข็งแรง
หน้าที่ของวิตามินเอ
  • เป็นส่วนประกอบสำคัญของ cornea และยังมีผลต่อการเจริญเติบโต การสร้างกระดูก และระบบสืบพันธ์ นอกจากนี้ยังป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ และระบบขับปัสสาวะ ทำให้ผิวและผมแข็งแรง Beta carotene (หรือ pro vitamin A) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นวิตามิน A ในร่างกาย Beta carotene เป็นสารต้านอนุมูลอิสระสามารถชะลอความแก่ได้
  • ช่วยบำรุงสายตา และแก้โรคตามัวตอนกลางคืน (Night Blindness)
  • ช่วยให้กระดูก ผม ฟัน และเหงือกแข็งแรง
  • สร้างความต้านทานให้ระบบหายใจ
  • ช่วยสร้างภูมิชีวิตให้ดีขึ้น และทำให้หายป่วยเร็วขึ้น
  • ช่วยในเรื่องของผิวพรรณ ลดการอักเสบของสิว และช่วยลบจุดด่างดำ
  • ช่วยบรรเทาโรคเกี่ยวกับไทรอยด์
ชนิดของวิตามินเอ
  • Retinol เป็นวิตามินเอ ที่พบในสัตว์เช่นตับ นม เป็นวิตามินที่ออกฤทธิ์ได้ทันที Retinol อาจจะเปลี่ยนเป็น Retinal retinoic acid ซึ่งเป็นรูปแบบวิตามินอีกชนิดที่ออกฤทธิ์ได้ทันที
  • Provitamin A carotenoids เป็นวิตามินที่ต้องเปลี่ยนแปลงในร่างกายก่อนที่จะออกฤทธิ์ เป็นรูปแบบวิตามินเออีกชนิดหนึ่ง พบในพืชใบเขียวซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ ในธรรมชาติ Provitamin A carotenoids อยู่ได้หลายรูปแบบได้แก่ beta-carotene, alpha-carotene, lutein, zeaxanthin, lycopene, and cryptoxanthin , วิตามินเอชนิด beta-carotene จะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ retinol และออกฤทธิ์ได้ดี แต่ alpha-carotene, lutein, zeaxanthin จะออกฤทธิ์ได้ประมาณครึ่งหนึ่งของ beta-carotene แต่ lycopene, cryptoxanthin จะไม่เปลี่ยนเป็นวิตามินเอ
อาหารที่มีวิตามินเอมาก
Retinol เป็นวิตามินเอ ที่พบในสัตว์เช่น ไข่ นม ตับ นมพร่องมันเนยจะมีวิตามินเอต่ำเพราะวิตามินเอละลายในไขมัน ดังนั้นนมพร่องมันเนยจึงต้องเติมวิตามินเอ วิตามินเอจากสัตว์จะดูดซึมได้ดี
วิตามินเอที่มาจากพืชใบเขียวจะดูดซึมไม่ดีเท่าวิตามินที่มาจากสัตว์ พืชใบเขียวจะมีวิตามิน Provitamin A carotenoids มาก
ผักผลไม้ที่ให้วิตามินเอส่วนใหญ่จะมีสีเหลือง ส้ม แดง และเขียวเข้ม เพราะมีเบต้าแคโรทีนและแคโรนอยด์ที่ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอต่อไป เนื่องด้วยวิตามินเอในผักผลไม้มีความไวต่อออกซิเจนมาก ดังนั้นวิธีการต้มที่ป้องกันการสูญเสียวิตามินได้ดีทีสุดคือ ควรปิดฝาภาชนะขณะต้มและใส่น้ำน้อยๆ

ร่างกายต้องการวิตามินเอในแต่ละวันอยู่ที่วันละ 4,000-5,000 IU
แหล่งวิตามินในธรรมชาติ        
จำนวน                       
ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
ผักตำลึง
น้ำหนัก 100 กรัม
18,608 IU
ยอดชะอม
น้ำหนัก 100 กรัม
10,066 IU
คะน้า
น้ำหนัก 100 กรัม
9,300 IU
แครอท
น้ำหนัก 100 กรัม
9,000 IU
ยอดกระถิน
น้ำหนัก 100 กรัม
7,883 IU
ผักโขม
น้ำหนัก 100 กรัม
7,200 IU
ฟักทอง
น้ำหนัก 100 กรัม
6,300 IU
มะม่วงสุก
1 ผล(โดยเฉลี่ย)
4,000 IU
บรอกโคลี
1 หัว(โดยเฉลี่ย)
3,150 IU
แคนตาลูบ
น้ำหนัก 100 กรัม
3,060 IU
แตงกวา
1 กิโลกรัม
1,750 IU
ผักกาดขาว
น้ำหนัก 100 กรัม
1,700 IU
มะละกอสุก
1 ชิ้นยาว(โดยเฉลี่ย)
1,500 IU
หน่อไม้ฝรั่ง
น้ำหนัก 100 กรัม
810 IU
มะเขือเทศ
น้ำหนัก 100 กรัม
800 IU
พริกหวาน
1 เม็ด(โดยเฉลี่ย)
500-700 IU
แตงโม
1 ชิ้นใหญ่
700-1,000 IU
กระเจี๊ยบเขียว
น้ำหนัก 100 กรัม
470 IU
อาการขาดวิตามินเอ
  • โรคผิวหนัง เนื่องจากวิตามินเอมีส่วนสำคัญในการรักษาสภาพเยื่อบุผิวหนัง ขาดวิตามินเอทำให้ผิวพรรณขาดความชุ่มชื้น หยาบกร้าน แห้งแตก โดยเฉพาะผิวหนังบริเวณข้อศอก ตาตุ่มและข้อต่อด่างๆ ซึ่งอาจนำไปสู่โรคผิวหนัง เช่น สิวและโรคติดเชื้ออื่นๆ ได้
  • ตาฟาง หน้าที่ของวิตามินเอคือช่วยในการสร้างสารที่ใช้ในการมองเห็น หากขาดจะทำให้มองเห็นได้ยากในเวลากลางคืนหรือในที่แสงสว่างน้อย และทำให้เยื่อบุตาแห้ง กระจกตาเป็นแผล ในกรณีที่ร่างกายขาดวิตามินเออย่างรุนแรงอาจทำให้ตาบอดได้
  • ความต้านทานโรคต่ำ วิตามินเอเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราทำงานตามปกติ การขาดวิตามินเอจึงทำให้เกิดโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้ง่าย อีกทั้งยังทำให้เกิดการอักเสบในโพรงจมูก ช่องปาก คอ และที่ต่อมน้ำลาย
อันตรายจากการได้รับวิตามินเอเกิน
  • แท้งลูกหรือพิการ หญิงมีครรภ์ที่ได้รับวิตามินเอมากเกินไปมีความเสี่ยงต่อภาวะทารกในครรภ์คลอดออกมาพิการหรือแท้งได้ เนื่องจากวิตามินเอมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กในครรภ์ ซึ่งอาจทำให้เด็กมีความผิดปกติที่ทางเดินปัสสาวะ กระดูกผิดรูป หรือมีติ่งปูดออกมาที่บริเวณหู
  • อ่อนเพลีย หากร่างกายได้รับวิตามินเอเกินครั้งละ 15,000 ไมโครกรัม จะมีผลทำให้รู้สึกอ่อนเพลียและอาเจียนได้
  • เจ็บกระดูกและข้อต่อ เบื่ออาหาร เซื่องซึม นอนไม่หลับ กระวนกระวาย ผมร่วง ปวดศีรษะ ท้องผูก ทั้งหมดนี้เป็นโทษในระยะยาวที่เกิดจากการรับประทานวิตามินเอมากเกินไป
  • ในสัตว์กระเพาะเดี่ยวเมื่อได้รับเกินความต้องการ 4-10 เท่า จะทำให้โครงกระดูกผิดปกติ
  • ในสัตว์เคี้ยวเอื้องเมื่อได้รับเกิน 30 เท่า จะเกิดอาการผิดปกติ
สิวกับวิตามินเอ
ในแง่ของสุขภาพผิวและความสมดุลของฮอร์โมนนั้น วิตามินเอ มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยได้มีงานวิจัยยืนยันว่าผู้ที่เป็นสิวรุนแรงนั้นมีระดับวิตามินเอ ในเลือดต่ำ มีรายงานว่า หญิงที่มีภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลและเป็นสิว เมื่อได้รับได้รับอาหารเสริมวิตามินเอ สิวก็สามารถหายภายในไม่กี่สัปดาห์ รวมถึงรอยแผลสิวก็เริ่มลดลงหลังจากได้รับอาหารเสริมวิตามินเอ 2 สัปดาห์ 
ประโยชน์ของวิตามินเอ กับการเพาะกาย
  • มีส่วนในการสังเคราะห์โปรตีน ซึ่งเป็นกระบวนการหลักสำหรับการเติบโตของมวลกล้ามเนื้อ
  • มีส่วนในกระบวนการสะสมไกลโคเจน ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำรองหลักของร่างกายเรา


ขอบคุณที่มา :Muscle
Share: